ประวัติโรงพยาบาล

ประวัติโรงพยาบาล

    โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่ที่ 950 ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72000 เนื้อที่ของ โรงพยาบาล แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
  • อาคารที่พักคนไข้ และอาคารสนับสนุนบริการมีเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 96 ตารางวา
  • อาคารบ้านพักสำหรับเจ้าหน้าที่ แยกออกไปตั้งอยู่บนถนนหมื่นหาญ มีเนื้อที่ 13 ไร่ 3 ตารางวา ห่างจากบริเวณอาคาร โรงพยาบาลออกไป ประมาณ 1 กิโลเมตร

ประวัติเดิมของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

พุทธศักราช ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2469
  • เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ได้สละเงินส่วนตัว 40,000 บาท (ในสมัยนั้น) สร้างตึกเจ้าพระยายมราชเป็นอาคารคอนกรีตสองชั้นหลังเดียว มีสภาพเป็นสุขศาลาของเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2469 ตัวตึกหันหน้าเข้าสู่แม่น้ำท่าจีน (สุพรรณ) หรือทางทิศตะวันตก เพราะสมัยนั้นประชาชนใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม จังหวัดสุพรรณบุรีมีถนนสายเดียวคือ ถนนพระพันวษา เริ่มจากหน้าศาลากลางจังหวัดผ่านตลาดผ่านเทศบาล และเลยไป ผ่านหลังตึกเจ้าพระยายมราช ไปจรดแม่น้ำท่าจีน บริเวณนั้นเรียกว่า ถนนตก นับว่าอยู่ในทำเลที่เหมาะสม ผู้ป่วยมารับบริการได้สะดวกทั้ง ทางน้ำ และทางบก ทั้งยังอยู่ในย่านชุมชน
พ.ศ.2478
  • ได้มีแพทย์ปริญญาคนแรกประจำ คือ นายแพทย์เคียน พานิช
พ.ศ. 2485
  • โรงพยาบาลได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุข และมีการขยายบริการมากขึ้น มีตึกผู้ป่วยเพิ่มขึ้นคือ ตึกสูติกรรม อายุรกรรม ศัลยกรรม
พ.ศ. 2500
  • ระยะต่อมา แม่น้ำตื้นเขิน การคมนาคมทางน้ำจึงลดลง การใช้ถนนมากขึ้น เนื่องจากโครงการสร้างถนนมาลัยแมน เป็นเส้นทางสายแรกของจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ.2500 คณะลูกหลานของเจ้าพระยายมราช ได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพระยายมราช โดยกรมศิลปากรออกแบบสร้างอนุสาวรีย์ประดิษฐานไว้ที่โรงพยาบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2500 อนุสาวรีย์นี้หันหน้าออกทางถนนพระพันวษา ประกอบกับผู้รับบริการเดินทางโดยทางบกมากกว่าด้านหน้า โรงพยาบาลจึงหันหน้ามาทางถนนพระพันวษาโดยปริยาย การดำเนินงานของโรงพยาบาลเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ
พ.ศ. 2534
  • เนื่องจากบริเวณเนื้อที่ของโรงพยาบาลมีจำกัด เพราะติดกับแม่น้ำท่าจีน และถนนของเทศบาลไม่สามารถขยายออกไปได้อีก จึงได้งบประมาณ สร้างตึกผ่าตัด – อุบัติเหตุและฉุกเฉิน เป็นเงิน 144.34 ล้านบาท
พ.ศ. 2537
  • ตึกผ่าตัด – อุบัติเหตุและฉุกเฉินแล้วเสร็จ เป็นตึก 7 ชั้น มีหอผู้ป่วย 4 หอ ห้องผ่าตัด 9 ห้อง
พ.ศ. 2542
  • หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม อายุรกรรม อาคารผู้ป่วยพิเศษ 5 ชั้น 60 ห้องแล้วเสร็จ และในขณะนั้นโรงพยาบาลได้ก่อสร้างอาคารอำนวยการ 11 ชั้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก ฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา โดยก่อสร้างพร้อมกับอาคารเฉลิมพระบารมี 7 ชั้นอีก 1 หลัง
พ.ศ. 2544
  • อาคารอำนวยการ 11 ชั้น และอาคารเฉลิมพระบารมี 7 ชั้นแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2544 โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี ได้รับการยกฐานะเป็น โรงพยาบาลศูนย์ขนาด 503 เตียง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2545
  • ได้มีการพัฒนาขยายเตียงเพื่อเตรียมรับผู้ป่วย จำนวน 623 เตียง
พ.ศ. 2554
  • อาคารสนับสนุนบริการสุขภาพ 11 ชั้นแล้วเสร็จ
พ.ศ. 2557
  • เริ่มก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและศูนย์วินิจฉัยรักษาผ่าตัดโรคหัวใจ 6 ชั้น
พ.ศ. 2560
  • อาคารผู้ป่วยนอกและศูนย์วินิจฉัยรักษาผ่าตัดโรคหัวใจ 6 ชั้นแล้วเสร็จ
พ.ศ. 2561
  • ได้มีการพัฒนาขยายเตียงเพื่อเตรียมรับผู้ป่วย จำนวน 680 เตียง
พ.ศ. 2562
  • อาคารฉันทนา รวมเมฆ 7 ชั้น แล้วเสร็จ ( ส่งมอบ 6 มิถุนายน 2562 )
พ.ศ. 2566
  • ปรับปรุงอาคาร 100 เตียง เปิดเป็นหอผู้ป่วยปั้นสุข (เปิดหอผู้ป่วย 6 มิถุนายน 2566)

 

 

buy twitter accounts london escorts
betoffice
Copyright. 2019 © Chaophraya Yommarat Hospital Designed by A.Junthathong | All rights reserved.